“ติดเกมส์” คือพฤติกรรมที่ถูกพูดถึงบ่อยครั้ง
โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นและเด็กที่มีพฤติกรรมติดเกมส์จนเกิดเป็นปัญหาต่างๆตามมา
ดังข่าวต่างๆที่หลายคนเคยเห็น ซึ่งในปัจจุบันก็มีเกมส์ต่างๆมากมายที่พร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น
ทั้งเกมส์ออนไลน์ ออฟไลน์ ซึ่งคงยากหากเราจะห้ามเด็กไม่ให้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้
แล้วผู้ปกครองจะมีวิธีสังเกตพฤติกรรม
และแก้ปัญหาการติดเกมส์นี้ได้อย่างไร?
วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วิธีการสังเกตพฤติกรรมการติดเกม
วิธีการสังเกตพฤติกรรมการติดเกม
1.
หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมมากเกินไป
ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด
2.
ใช้เวลาในการเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ
3.
เมื่อถูกบังคับให้หยุดเล่น จะมีพฤติกรรมต่อต้าน
4.
ส่งผลต่อหน้าที่ ความรับผิดชอบ การเรียน / ทำงาน
ข้อเสียของการติดเกม
ข้อเสียของการติดเกม
ต่อตนเอง
·
ร่างกาย : ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดหัว อ่อนเพลีย
·
พัฒนาการ(ในเด็ก) :
พัฒนาการที่ดีนั้นต้องอาศัยปัจจัยกระตุ้นหรือปัจจัยส่งเสริมในหลายๆ ด้าน เช่น
โภชนาการ การเล่น การมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การออกกำลังกาย โดยที่การเล่นเกมแต่เพียงอย่างเดียวจะทำให้ได้สิ่งเหล่านี้ไม่ครบและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการของเด็กได้
·
จิตใจ: ในเด็กอาจเกิดพฤติกรรมเลียนแบบขึ้นได้
และอาจมีอารมณ์หงุดหงิด มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
หรือไม่พอใจหากไม่ได้เล่นเกมตามที่ตนต้องการ
ต่อครอบครัว : อาจก่อให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
การปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวลดน้อยลงทำให้เกิดความเหินห่าง
วิธีช่วยเหลือเด็กติดเกม
วิธีช่วยเหลือเด็กติดเกม
1.
ผู้ช่วยเหลือควรจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กก่อนเริ่มการปรับพฤติกรรม
2.
วิธีที่ดีที่สุด คือ
การตกลงกติกากันให้ชัดเจนก่อนอนุญาตให้เด็กเล่นเกม
3.
ควรเอาจริงเอาจังกับข้อตกลงหรือกติกาที่ได้ตั้งไว้
4.
สร้างแรงจูงใจในการเลิกให้กับเด็ก เช่น
หากกำลังปรับลดชั่วโมงการเล่นเกม ก็ควรหากิจกรรมที่น่าสนใจมาทดแทนการเล่นเกมทันที
และถ้าเด็กทำได้ก็ควรชม /ให้กำลังใจ หรือให้รางวัล
5.
ค่อยๆปรับพฤติกรรมทีละน้อย แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่สม่ำเสมอ
6.
หากมีข้อสงสัยควรขอคำแนะนำจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
หรือศึกษาเพิ่มเติมจาก Website
เช่นhttp://www.healthygamer.net/
วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
เกมส์ในปัจจุบัน
ปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทแพร่หลายในสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนโทรศัพท์มือถือ พฤติกรรมการติดเกมของเด็กคล้ายกับพฤติกรรมของผู้ป่วยติดสารเสพติด และผู้ป่วยติดการพนัน คือ มีความพึงพอใจเมื่อได้รับชัยชนะในการเล่นเกม และต้องการเอาชนะเพิ่มขึ้นอีกจึงรู้สึกพึงพอใจเท่าเดิม
การติดเกมส์ในลักษณะบ้าเกมส์
สาเหตุหลักที่เด็กติดเกมส์ลักษณะนี้เนื่องจาก เกมส์แบบนี้มีปฏิกิริยาตอบสนองทันทีทันใด ทำให้เกิดความเร้าใจและอยากเล่นต่อไปเรื่อยๆ คล้ายกับโปรแกรมแช็ท (chat) แต่เกมส์เหล่านี้จะส่งผลต่อเด็กในแง่ลบ โดยทำให้เด็กเกิดความเคยชินกับความรุนแรงเกมส์ลักษณะเดียวกัน เมื่อเล่นบนเครือข่ายแล้วมีแนวโน้มทำให้เด็กชินกับความรุนแรงมากกว่า เล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวเพราะเป็นการแข่งกันระหว่างคน ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วมักไม่อ่อนข้อให้กัน ต่างจากการเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวที่สามารถตั้งระดับความยากง่ายตามระดับฝีมือได้
เกมส์ออนไลน์จึงมีโอกาสสูงที่จะก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท
- สาเหตุที่เกิดจากผู้ปกครอง พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เด็กเล่นเกม หรือคอมพิวเตอร์ให้แน่ชัดลงไปเป็นเวลาที่แน่นอนหรือกำหนดว่ากี่ชั่วโมง พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจในเนื้อหาและรายละเอียดของเกมที่ลูกเล่น หรือไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแบ่งชนิดของเกมตามความเหมาะสมของอายุของผู้เล่นตามที่กำหนด เด็กส่วนใหญ่เล่นเกมหลังเวลาเลิกเรียน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ผู้ปกครองยังไม่เลิกงาน ทำให้ไม่มีเวลาดูแลลูก
- สาเหตุที่เกิดจากตัวเด็กเอง เด็กอาจเล่นเกมเกินเวลากว่าที่ตั้งใจไว้ หรือเล่นเพราะมีสังคมเพื่อนอีกกลุ่มที่รอคอยการพูดคุยสนทนาถึงความก้าวหน้าของการเล่นเกมที่จะแข็งขันของระดับความยากของเกมซึ่งเป็นการสร้างความภาคภูมิใจหากมีระดับความยากที่สูงหรือมีแต้มคะแนนที่สูงกว่าเพื่อน
- สาเหตุความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ที่มีรูปแบบ เนื้อหา แสง เสียง วิธีการ ความรวดเร็ว ความแปลกใหม่ในเทคนิคต่างๆ ทำให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ เหมือนจริงมากขึ้นและในบางครั้งก็เกินความเป็นจริงมากเกินไป เหมือนเป็นการสร้างจินตนาการเพ้อฝันให้เด็กลุ่มหลง
-
ป้องกันปัญหาเด็กติดเกมได้อย่างไร?
ป้องกันปัญหาเด็กติดเกมได้อย่างไร?
1.)ให้ความสำคัญในเนื้อหาของเกมที่ลูกเล่น ว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไร พ่อแม่ควรมีส่วนร่วมในการเลือกเกมให้ลูกโดยมีส่วนร่วมในการเลือกและตัดสินใจซื้อหรือเล่นกมต่างๆ ด้วย
2.)ควรเข้าไปเล่นเกมกับเด็กด้วย เพราะนอกจากจะได้เข้าไปกำกับดูแลเนื้อหาในเกมแล้วยังได้สังเกตดูพฤติกรรมและการตอบสนองของลูกต่อเกมต่างๆ สามารถสอดแทรกแนวความคิด ข้อคิดเห็นต่างๆ อีกด้านหนึ่งให้แก่ลูกในแง่ความถูกต้อง ความเหมาะสมในสังคมและโลกของความเป็นจริงมากขึ้น รวมถึงผลที่จะเกิดตามมาจากการกระทำนั้นๆ3.)กำหนดและควบคุมเวลาเล่นคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตของลูกให้ชัดเจน และควบคุมไม่ให้เด็กใช้เวลากับเกมคอมพิวเตอร์มากเกินไป อาจต้องลงในรายละเอียดว่าให้เล่นได้วันละกี่ชั่วโมง สัปดาห์ละกี่วัน บางบ้านก็ตั้งกฎไว้เลยว่าจะให้เล่นได้เฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์เท่านั้น
4.)ให้คำแนะนำ ปลูกฝังบอกให้ลูกรู้ผลดีผลเสียในด้านต่างๆ ของการเล่นเกมมากเกินไป เช่น ขาดประสบการณ์ ขาดทักษะ ไม่ได้ทำกิจกรรมในด้านอื่นๆ ที่สำคัญและจำเป็นในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต ไม่มีเวลาทบทวนบทเรียน ผลการเรียนอาจต่ำลง ถ้าเล่นนานเกินไป ตาและกล้ามเนื้อตาไม่ได้หยุดพัก เกิดอาการปวดล้า ปวดตา และปวดศีรษะได้ บางคนเล่นเกมมากเกินไปจนเกิดการติดเกมทำให้การพักผ่อนไม่เพียงพอ กินอาหารไม่ตรงเวลา ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพและการเจริญเติบโต
5.)หากิจกรรมเสริมที่น่าสนใจ เช่น ชวนลูกไปเล่นกีฬา สร้างสรรค์งานศิลปะ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร อ่านหนังสือ ทัศนศึกษา พ่อแม่ต้องพยายามหากิจกรรมที่น่าสนุกกว่าเพื่อเอาชนะความสนุกที่ลูกได้จากเกมให้ได้
เกร็ดความรู้
เกร็ดความ
สามารถช่วยดูแลเด็กเพื่อป้องกันปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ โดยการติดตามพฤติกรรมของนักเรียน อาจมอบหมายงานให้นักเรียนได้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ที่ท้าทาย เสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง รวมถึงการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในโรงเรียน
แหล่งอ้างอิง
แหล่งอ้างอิง
http://province.m-culture.go.th/nakhonratchasima/html/game.html
http://www.med.cmu.ac.th/hospital/nped/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=107:2011-10-10-05-19-18&catid=94:child-development&Itemid=435
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)